8 ส่วนประกอบสำคัญ
มังคุด (Mangosteen)

มังคุด (Mangosteen)
ราชินีแห่งผลไม้ที่มีแซนโทน (Xanthones) ตามธรรมชาติในปริมาณที่มากที่สุดในโลก มีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่างๆ
ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชินีแห่งผลไม้” (Queen of fruits) ด้วย ลักษณะเฉพาะของผลมังคุดที่มีกลีบเลี้ยงอยู่ที่หัวขั้วของผล คล้ายมงกุฏของราชินี เนื้อด้านในมีสีขาวนวล รสชาติหวานอมเปรี้ยวอร่อย ทำให้ได้รับความนิยมในการบริโภคเป็นอย่างมาก มังคุดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ตลาดมีความต้องการสูงมากทั้งบริโภคภายในและส่งออก มังคุดมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Garcinia mangostana L. จัดอยู่ในวงศ์ Clusiaceae หรือ Guttiferae พืชในสกุล Garcinia รวมทั้งมังคุดเป็นแหล่งของสารฟีนอลิก (phenolic compounds) นอกจากคุณค่าทางอาหารแล้ว เปลือกมังคุด (pericarp) ยังมีสรรพคุณทางยาโดยใช้เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสีย สารฟีนอลิก สำคัญที่พบในมังคุดได้แก่ แซนโทน แทนนิน และโปรแอนโทไซยานิน จากรายงานการวิจัยพบว่าสารสกัดจากเปลือกผลมังคุดมฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย สารแซนโทนเป็นรงควัตถุสีเหลือง พบได้ในทุกส่วนของพืชยกเว้นใบของมังคุด พบมากในเปลือกผลมังคุด แซนโทนที่พบในเปลือกผลมังคุดมีไม่น้อยกว่า 40 ชนิดและส่วนใหญ่เป็นชนิด polyhydroxy prenylated xanthone โดยมี á-mangostin และ ã-mangostin เป็นแซนโทนหลัก สารแซนโทนมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจมาก เช่น mangostin สามารถออกฤทธิ์ลดการอักเสบ สารฟีนอลิกสามารถกำจัดอนุมลูอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายประเภท เช่น โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดอุดตัน โรคมะเร็ง สาร mangostin ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดดื้อยา MRSA VRE และ VSE แซนโทนจากมังคุดสามารถยับยั้งเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยที่ á-mangostin â-mangostin และ garcinone B มีฤทธิ์ยับยั้งดีที่สุดที่ค่า MIC 6.25 ìg/ml mangostin และแซนโทนต่างๆของมังคุดมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ เช่น เซลล์มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งปอดเล็ก
ข้อมูลอ้างอิง
มหัศจรรย์มังคุด “จากงานวิจัย สู่ผลิตภัณฑ์์” สุนิตย์ สุขสำราญ ภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
http://cms2.swu.ac.th/Portals/155/ภาควิชาเคมี/เอกสารอ้างอิง/CHEM_56_4.1_3_2.pdf