8 ส่วนประกอบสำคัญ
ทับทิมเปอร์เซีย (Pomegranate)

ทับทิมเปอร์เซีย (Pomegranate)
มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก และมีประโยชน์ต่อผิวในเรื่องการช่วยต้านริ้วรอย มีวิตามินซีสูงมาก ลดภาวการณ์สะสมไขมันในผนังหลอดเลือด ลดภาวะการแข็งตัวของเลือดจากไขมันในเลือดสูง บรรเทาโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต
ทับทิมเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารสกัดที่มีประโยชน์ต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย และสามารถนำมาใช้ป้องกันและรักษาโรคได้หลายชนิด ได้แก่ ระบบหลอดเลือด และหัวใจ น้ำทับทิมช่วยลดปริมาณไขมันไม่ดีที่เป็นสาเหตุของการเกิดหลอดเลือดอุดตันและนำไปสู่โรคหัวใจ และเปลือกของทับทิมซึ่งมีเส้นใยมากจะช่วยรักษาระดับไขมันในเลือด และป้องกันไม่ให้หลอดเลือดตีบได้ ทับทิมสามารถต้านการอักเสบและอาการแพ้ โดยเปลือกทับทิมมีสารสกัดชนิดพูนิคาลาจิน พูนิคาลิน สตริคไทนิน เอ และกรานาติน บี ซึ่งสารสกัดเหล่านี้ไปมีผลในการลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบและเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น นิวโทรฟิล มาโครฟาจ และโมโนไซต์ สารสกัดจากเมล็ด ทับทิมทำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งเต้านมในคน โดยสารสกัดกรดแอลลาจิกและพูนิคาลิจิน ที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลทำให้เซลล์มะเร็งลำไส้ตาย และมีการทดลองในหนูที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากโดยให้แอลลาจิแทนนินเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าจำนวนและขนาดของเซลล์มะเร็งลดลง นอกจากนี้ทับทิมมีผลต่อการรักษาโรคเบาหวานโดยสารสกัดในทับทิม เช่น พูนิคาลาจิน กรดแอลลาจิก กรดแกลลิค โอลีโนลิค และยูโซลิคมีฤทธิ์ใน การลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการดูดซึมและการสร้างกลูโคส ยับยั้งเอนไซม์กลูโคซิเดส และกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากเซลล์ตับอ่อน สารโพลีฟีนอลจากทับทิมที่ความเข้มข้น 800 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ได้ (H1N1, H3N2 และ H5N1) ทับทิมยังช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมและชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยนั้น ทับทิมได้ถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรตั้งแต่สมัยโบราณ โดยแพทย์แผนโบราณได้ใช้
เปลือกรากและเปลือกต้นของทับทิมสำหรับถ่ายพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย ใบใช้สมานแผล แก้ท้องร่วง น้ำต้มใบใช้อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา และดอกใช้ห้ามเลือด เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิง
ทับทิมผลไม้เพื่อสุขภาพ
วัลวิภา เสืออุดม1* ระพีพันธุ์ ศิริเดช1 วิภาพรรณ ชนะภักดิ์1 และ ระพีพร ชนะภักดิ์2 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ 10540 2 สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี 70150
http://scijournal.hcu.ac.th/data/Vol%202%20Issue%202%20บทความวิชาการ%208.pdf