8 ส่วนประกอบสำคัญ

น้ำมะพร้าว (Coconut Water)

น้ำมะพร้าว (Coconut Water)

ช่วยให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ขาวขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ซึ่งทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นกระชับ และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ในน้ำมะพร้าวยังมีอิเล็กโทรไลต์จากธรรมชาติที่สูงมาก ช่วยนำพาสารอาหารเข้าสู่เซลล์ได้ดีขึ้น

น้ำมะพร้าวอุดมไปด้วยวิตามินบีต่างๆ ทั้ง วิตามินบี 1, บี 2, บี 3, บี 5, บี 6, ไบโอติน, และกรดโฟลิค รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม แมงกานีส เป็นต้น จึงมีคุณสมบัติเป็นน้ำเกลือแร่ธรรมชาติ ที่นอกจากจะเพิ่มเติมความสดชื่นในวันที่อากาศร้อนแล้ว ยังช่วยปรับสมดุลแร่ธาตุบรรเทาความอ่อนล้าอ่อนเพลียหลังออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยรักษาสมดุลเกลือแร่ในผู้ที่มีอาการขาดน้ำจากภาวะท้องเสียได้อีกด้วย

น้ำมะพร้าวยังสัมพันธ์กับเรื่องฮอร์โมน โดยมีสารกลุ่มฮอร์โมนพืช “ไซโตไคนิน (cytokinin)” 2 ตัว ซึ่งตัวแรกคือ ไคเนติน (kinetin) มีฤทธิ์ชะลอความแก่ (anti-ageing effects) โดยมีงานวิจัยระบุว่าไคเนตินสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของคน (เซลล์ที่สร้างคอลลาเจนและอิลาสติน) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับความแก่ของผิวหนังในระดับเซลล์นั่นเอง นอกจากนี้น้ำมะพร้าวอ่อนยังมีสารประกอบ ทรานส์-ซีติน (trans-zeatin) ที่ออกฤทธิ์ชะลอความแก่ในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของคนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ระบุว่า น้ำมะพร้าวอ่อนช่วยเพิ่มความกระจ่างใสของผิว ช่วยให้ผิวอ่อนนุ่มขึ้น อีกทั้งยังลดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้อีกด้วย

ในสตรีวัยทอง ผลข้างเคียงที่สำคัญอันเกิดจากการหมดประจำเดือนคือ โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) และกระดูกพรุน ซึ่งสตรีวัยทองส่วนใหญ่จะได้รับฮอร์โมนทดแทน เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวเหล่านั้น แต่หากรับฮอร์โมนทดแทนต่อเนื่องเกิน 5 ปีขึ้นไปจะพบผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา ได้แก่ มะเร็งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมถึงโรคหลอดเลือดในสมองตีบ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันจึงได้ใช้ฮอร์โมนทดแทนจากพืชมาทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์  ในน้ำมะพร้าวอ่อนจะมีฮอร์โมนจากพืช (Phytohormones) อยู่หลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) ที่มีโครงสร้างและการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ และเหงื่อออกกลางคืนในสตรีวัยทองได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) และกระดูกพรุนในสตรีวัยทองได้

ข้อมูลอ้างอิง

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/363
http://rdo.psu.ac.th/th/index.php/recommend/723-menopause
http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/fruit_nutritioin3.pdf
USDA Nutrient database

Menu